Skip to content

แชร์สาระน่ารู้ เลือกเกมส์อย่างไรให้เหมาะกับเด็กวัย 6 – 10 ปี

การเล่นเกมส์ถือเป็นกิจกรรมสุดโปรดของเด็กแทบทุกคนเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะเด็กวัยกำลังโตตั้งแต่ 6 – 12 ปี ที่เป็นวัยกำลังต้องการการเรียนรู้ ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองหลายคนมักจะปล่อยให้ลูกหลานของตนได้เล่นเกมตามระยะเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้เด็กเข้าสู่โลกแห่งจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ผู้ปกครองอีกหลายคนก็ยังมีความกังวลเรื่องความเหมาะสมของเกมที่เด็ก ๆ เล่น ว่าจะเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็กหรือไม่ และจะส่งผลเสียอะไรกับตัวเด็กบ้างหรือเปล่า

ดังนั้น วันนี้เราจึงมีสาระน่ารู้เกี่ยวกับวิธีการเลือกเกมให้เด็ก ๆ เล่นอย่างเหมาะสม โดยไม่ส่งผลเสีย มาฝากพ่อแม่ผู้ปกครองกัน

เช็กเรตติ้งของเกมเป็นอันดับแรก
ผู้ผลิตเกมส์ส่วนใหญ่ทั้งในเครื่องคอนโซล, PC หรือแม้แต่บนสมาร์ทโฟนจะมีระบบเรตติ้งและคำเตือนเกี่ยวกับเนื้อหาของเกมนั้น ๆ ให้พ่อแม่ผู้ปกครองคอยเช็กเสมอ เช่น เกมนี้เหมาะสำหรับอายุเด็ก 7 ปี ขึ้นไป หรือเกมนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเพศและความรุนแรง ตารางบอลพรุ่งนี้ ฯลฯ ซึ่งการจัดเรตติ้งนี้ถูกรับรองโดยหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือในระดับนานาชาติอย่าง International Age Rating Coalition (IARC) เช่น เกมยอดฮิตอย่าง ROV ถูกจัดให้เหมาะกับเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป หรือเกมแนวชู้ตติ้งยอดนิยมอย่าง PUBG ที่มีเรตติ้งเหมาะกับผู้เล่นตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป เป็นต้น ดังนั้น สิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนควรทำเป็นอันดับแรกเวลาที่เห็นเด็ก ๆ เล่นเกมก็คือการเช็คเรตติ้ง ซึ่งหากเป็นเกมมือถือก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย ๆ จากรายละเอียดของแอปพลิเคชันเกมนั้น ๆ

เลือกเกมที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและทักษะของเด็ก
เกมส์ในปัจจุบันมีด้วยกันหลากหลายแนว แต่ที่เหมาะสำหรับเด็กวัย 6 – 12 ปี มากที่สุดก็คือ เกมแนวจำลองชีวิต (Simulation) และ เกมแนวไขปริศนา (Puzzle) นั่นเอง เพราะเกมแนวนี้จะช่วยฝึกให้เด็ก ๆ รู้จักนำทรัพยากรต่าง ๆ ที่อยู่ในเกมมาใช้ประโยชน์ ทั้งการสร้างสิ่งของ สร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ หรือแม้แต่สร้างอาณาจักรของตัวเองขึ้นในเกม เป็นการส่งเสริมจินตนาการและช่วยให้เด็กรู้จักการวางแผน ใช้เหตุใช้ผลอย่างเหมาะสม โดยเกมที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลกได้แก่ Minecraft, Roblox รวมถึง Toca Kitchen

จำกัดเวลาในการเล่น
หลังจากเช็คเรตติ้งและเลือกแนวเกมส์ที่เหมาะสมให้เด็ก ๆ แล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองควรกำหนดเวลาที่แน่นอนในการเล่นเกมอย่างเหมาะสม และควรมีส่วนร่วมกับเด็ก ๆ เช่น การชวนคุยหรือหมั่นถามเด็ก ๆ เกี่ยวกับเกมที่อยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กจดจ่อหรือหมกหมุ่นอยู่กับเกมจนเกินไป และข้อสำคัญคือ ไม่ควรปล่อยปละละเลยให้เด็ก ๆ เล่นเกมจนเกินเวลาที่กำหนด เพราะจะทำให้เด็ก ๆ ขาดวินัยและความตรงต่อเวลานั่นเอง

เรียกได้ว่า การดูแลเอาใจใส่เรื่องการเล่นเกมส์ของเด็ก ๆ ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะหากพ่อแม่ผู้ปกครองเข้าไปก้าวก่ายหรือควบคุมอย่างเข้มงวดเกินไปก็จะทำให้เด็ก ๆ สูญเสียความเชื่อใจได้อย่างง่ายดาย หากภายหน้าเกิดปัญหาอะไรขึ้นพวกเขาก็จะไม่กล้าบอกกับพ่อแม่โดยตรง แต่หากปล่อยอิสระจนเกินไป ก็อาจทำให้เด็ก ๆ เผลอไปเล่นเกมที่ไม่เหมาะสมกับวัยของตัวเองได้เช่นกัน ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนที่ต้องหมั่นสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกหลาน วางกฎเกณฑ์ที่พอเหมาะ ไม่เข้มงวดเกินไปและไม่หย่อนยานเกินไป เพื่อให้เด็ก ๆ เติบโตก้าวผ่านวัยนี้ไปเป็นวัยรุ่นที่มีคุณภาพ

Published inสาระคนเล่นเกมส์

Comments are closed.